インプット仮説 

  
     วันนี้มาเริ่มต้นด้วยการมาพูดถึง Stephen Krashen กันก่อน

   คนนี้คือนักภาษาศาสตร์ที่คิดค้นแนวคิด インプット仮説 ซึ่งเป็นแนวคิดที่อ่านแล้วเข้าใจยากใช้ได้  โดยจะเป็นแนวคิดว่าด้วย 

①習得・学習仮説(ノン・インターフェイスの仮説):学習と習得は別のものであり、ある言語について学習したとしても、それで話したり、読んだり出来るわけではない。実際に言語を使いこなすには言語を習得しなければならず、習得は学習から独立している。
 
自然順序仮説:ある言語を学ぶにはもっとも適した順序がある。何を先に学習し、何を後で学習するのが良いかには法則がある。「自然習得順序仮説」ともいう。
 
③モニター仮説:目標言語を学習する際、学習者は常に自分の話していること、書いていることが正しいかどうかをチェックしている。
 
情意フィルター仮説:言語の習得を高めるには学習者の緊張・不安が少ないほど良い。
 
⑤インプット仮説:学習者が現在持っている知識よりも少し上のレベルの内容を学ぶことで習得は促進される。i + 1 とも言う。i は学習者が現在持っている知識のレベル。+1はそれに足した形でのインプットの意味。
クラッシェンの仮説はナチュラル・アプローチという教授法に繋がっていく。
อ้างอิงจาก https://yousei.arc-academy.net/manbow/index.php/term/detail/360

รู้สึกว่าเท่าที่อ่านเว็บต่างๆ เว็บนี้อธิบายเข้าใจสุดแล้ว และเมื่อประกอบกับคำอิบายของอาจารย์ก็จะมี keyword คำว่า 大量のインプットを入れること(lot's of input)   理解可能なインプット(comprehensible input)

inputทีี่ดีต้องเป็น Natural Approach  และเป็นไปอย่าง TPR (Total Physical Response ไม่บังคับให้พูดจงกว่าผู้เรียนอยากพูดเอง) 

インプット強化(Input enhancement) ต้องให้ 目的意識を持たせる และ 関心のあるインプットでインプットする

อีกสิ่งสำคัญก็คือ  学習ไม่มีทางจะนำไปสู่ 習得 หมายความว่า การเรียนแต่ในห้องเรียนไม่ช่วยให้พูดได้

  พอได้เรียนเรื่องนี้เราเลยเอามาคิิดกับตัวเองว่า แนวคิดนี้มันช่วยให้เราเก่งอังกฤษทีี่เรียนมาตั้งแต่เด็ก แต่ไม่ถนัดอย่างไรก็ไม่ถนัดอย่างนั้นอยู่จนถึงทุกวันนี้หรือเปล่า อาจจะมีส่วนที่ว่าส่วนใหญ่ที่ทำมาตั้งแต่เด็กคือการ 学習 มากกว่าการ 習得 แต่ถ้าอย่างนั้น แสดงว่าเราต้องชอภาษานั้นๆบ้างไม่มากก็น้อยถึงจะมีีโอกาสที่จะได้ 習得 หรอ แล้วทำยังไงถ้าหากว่าเกิดความ 苦手意識 กับภาษานั้นๆแล้วไม่เกิดการ TPR ได้เลย (จริงจังมากฮ่าๆ) แล้วพอได้ค้นๆดูเห็นว่ามีคนญี่ปุ่นหลายคนก็ได้ลองแนวคิดของ Krashen มาใช้กับการเรียนภาษาอังกฤษ แล้วสรุปออกมาว่า
  • 言語習得にはインプットが最重要
  • 自分のレベル+αの英語に触れ続けることが効果的
  • 学習では無く習得が必要
  • 英語の実践の場を作る
  • 心理的障壁を下げる
                     ことが重要

  ตัวอย่างเช่น การที่เราซื้อหนังสือเรียนมาที่มีระดับความยากไม่มาก(หรือเรียกว่าค่อนข้างจะพื้นฐานแบบที่เราเรียนตอนม.ต้นอะไรแบบนี้)แล้วค่อยเพิ่มศัพท์หรือสำนวนที่ใหม่ๆหรือยากขึ้นมาอีกนิดถือว่าเป็นการเรียนแบบ i+1 เพราะต่อให้เราซื้อหนังสือที่advanceมาอ่านเลย เราก็จะไม่เข้าใจและไม่ทำให้การเรียนภาษาอังกฤษของเราพัฒนาขึ้น นอกจากนี้เขาก็มีการใช้วิธีlistening และ shadowing  (ที่วิชาconver ชอบพาทำ) แต่ว่าการที่ศึกษาเรียนรู้ภาษาด้วยตัวเองคนเดียวเราอาจจะไม่มีแรงบันดาลใจหรือモチベーション เพราะฉะนั้นเราต้องนำมาใช้จริงแล้วก็ต้องรู้สึกสนุกหรือโอเคกับภาษานั้นๆ

  ฟังเรื่องต่างๆ พวกนี้แล้วก็คิดมาเหมือนกันว่าการใช้จริงได้ประโยชน์ที่สุด ก็เคยมีหลายๆคนมาถามทางลัดที่พูดภาษาญี่ปุ่นเหมือนกันว่า ทำยังไงให้พูดภาษาญี่ปุ่นได้ในเวลาเร็วที่สุด ส่วนตัวก็จะชอบตอบว่า ลองไปอยู่ญี่ปุ่นสักสามเดือนถึงครึ่งปีสิ แต่ต้องไปแบบตัวคนเดียวแล้วห้ามใข้ภาษาอังกฤษนะ แล้วเดี๋ยวมันก็พูดได้เองในระดับที่เอาชีวิตรอด ฮ่าๆ แต่ที่เราตอบไปไม่ได้เชิงในความรู้สึกที่สนุกกับการใข้ภาษาและอยากพัฒนาตัวเอง

     แต่มาจากประสบการณ์ของตัวเองตอนเด็ก(ตอนมาอยู่ไทยใหม่ๆประมาณป.1มั้ง)ว่า ถ้าไม่เรียนรู้และพูดให้เป็น ฉันตายแน่ๆ เพราะว่าตอนเด็กๆ ความรู้สึกและสิ่งที่คนรอบข้างประพฤติจะแตกต่างจากตอนไปแลกเปลี่ยน มัธยม หรือมหาลัยมาก สังคมเด็กๆมันน่ากลัวกว่าที่คิด เพราะทุกคนจะไม่มองเราเป็นเด็กแลกเปลี่ยน ที่ต้องต้อนรับและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมแต่อย่างใด แต่ทุกคนจะมองว่า ทำไมแกพูดภาษาเดียวกับพวกฉันไม่ได้ ทุกคนจะมองเราเป็นชายขอบและบางทีก็อาจจะโดนกลั้นแกล้งในที่สุด (ไม่รู้หรอกว่าพูดอะไร แต่ฉันมองสีหน้าพวกเธอฉันรู้กำลังเม้าท์นินทาฉันน) อีกอย่างจะซื้อข้าวก็ซื้อไม่ได้ ทำอะไรก็ลำบาก ไม่มีใครช่วยเราได้ ทำให้ตัวเราพยายามที่จะเรียนรู้ เพื่อความอยู่รอดในสังคม... 




  ก็ไม่ได้บอกว่าเป็นวิธีที่ดีสุด แต่เป็นวิธีีที่ได้ผลไวใช้ได้(แต่จะเป็นซึมเศร้าก่อนไหมก็อีกเรื่องนะคะ) แต่ขั้นตอนการเรียนรู้ก็แอบเป็นไปตามแนวคิดของ クラッシェン (หรือเปล่า) แต่ก็อาจจะเป็น 強制モチベーション (เพราะช่วงแรกเครียดมาก แต่หลังๆพอเริ่มได้習得ก็สนุกดี) 


     หนังสือ ชีวิต 150cm

   อีกแบบหนึ่งก็คือการอ่านหนังสือ(การ์ตูน นิยาย วิชาการ หรืออะไรก็ได้) ที่เรารู้สึกสนุกและอินก็เป็นหนึ่งในการที่เราเรียนรู้ภาษา (ในเชิงไวยากรณ์) เพราะจะช่วยให้เราใช้ภาษาได้ถูกต้องและรู้สำนวนต่างๆเป็นรูปธรรมและธรรมชาติ ในกรณีของเราหนังสือเล่ม ชีวิต150cm เหมาะกับตัวเรามาก เพราะจะออกแนวคล้ายการ์ตูน คือมีตัวหนังสือและรูป พอเราอ่านตัวหนังสือแล้วไม่ค่อยเข้าใจ ก็จะมานั่งดูรูปประกอบมันก็จะซึมซัลไปเอง อย่างน้อยก็ดีกว่าหนังสือดีมากๆ สำหรับเรา



  ข้างในหนังสือก็จะเป็นแบบนี้ ตอนแรกๆเข้าใจบ้างไม่เข้าใจบ้างแต่ได้ศัพท์เยอะดี และหนังสือน่ารักมากกก 


   ก็อยากจะบอกว่า  คิดว่าจริงในส่วนของแรงบันดาลใจในการเรียน ทำให้ผู้เรียนรู้สนุกและอยากเรียนรู้ภาษานั้นเพิ่มขึ้น (ทั้งๆที่รู้แต่ก็ยังทำกับภาษาอังกฤษไม่ได้ ฮ่าๆ )

ความคิดเห็น

  1. จริงอยู่ที่การเรียนภาษา ถ้ามีพวกモチベーションจะทำให้เรียนภาษานั้น ๆ ได้ดีขึ้น แต่พี่มองว่า習得ก็สำคัญนะ อย่างกรณีภาษาอังกฤษ บ้านเรามีแต่ยัด ๆๆๆ 学習 แถมหลาย ๆ ที่สอนไม่ค่อยเป็นระบบอ่ะ เด็กไทยเลยไม่ค่อยได้ภาษาอังกฤษ(แน่นอนว่ารวมถึงพี่ด้วย TvT)

    ตอบลบ
  2. สรุป インプット仮説 โดยยกตัวอย่างเรื่องของตนเอง เข้าใจง่ายมากค่ะ ครูสนใจหนังสือการ์ตูน "ชีวิต 150cm" จัง เป็นการให้ input กับตัวเองไปทีละขั้น (อาจจะ i+1) และสร้างแรงจูงใจให้ตนเองด้วยการใช้สื่อที่น่ารัก อีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เราเรียนรู้ภาษาได้(ดี)และหนูพูดถึงคือ "ความจำเป็น" ซึ่งเป็นแรงจูงใจที่ทรงพลังมาก

    ตอบลบ
  3. นึกถึงในคาบคอนเวอร์ที่ไปนั่งสัมภาษณ์อะ ตอนนั้นรู้สึกนับถือมากที่ย้ายมาแบบพูดไทยไม่ได้เลย แต่กับภาษาอังกฤษนี่นอกจากพยายามเรียนแล้วมันก็น่าจะต้องมี motivation จริง ๆ นั่นแหละ ตอนนั้นเราชอบนักร้องฝรั่งเลยชอบเรียนภาษาอังกฤษไปด้วย สำหรับตอนนี้อาจจะต้องเป็นเรื่องที่ว่าต้องใช้ตอนทำงาน น่าจะใช้เป็น motivation ได้ล่ะมั้งงงง555555

    ตอบลบ
  4. สวัสดีค่า มาเยี่ยมบล็อกน้องเป็นครั้งแรก 5555 ขอบคุณที่ช่วยสรุปเรื่อง インプット Natural Approach TPR 学習 習得 นะคะ เรียนไปตอนแรกๆเริ่มลืมละ เท่าที่เราอ่านมา เรารู้สึกว่าน้องเป็นคนที่มีความคิดนะ ช่างสงสัย สิ่งเหล่านี้มันก็เป็นเครื่องมือที่ทำให้น้องได้ 習得 ได้พัฒนาภาษาเหมือนกัน //เห็นด้วยที่ว่าสังคมสมัยเด็กน่ากลัว 5555

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

授業三回目 手際の良い説明&待遇表現の活用

アウトプット仮説&のだ

統合&あいづち