敬語

  ครั้งนี้มีวิทยากรจากมหาวิทยาลัย 東北 มาชื่ออาจารย์ 上原 มาสอนเรื่อง 敬語 ที่เป็นปัญหาสำหรับหลายๆ คนแม้กระทั่งคนญี่ปุ่นเอง ...
  คือเรื่อง 敬語 ก่อนหน้านี้ก็เคยเรียนมาบ้างอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นพวกเราทุกคนก็พอจะแยกออกว่า คำไหนเป็น 丁寧語 หรือคำไหนเป็น 謙譲語 เพราะตามในหนังสือเรียนที่ผ่านมาเขาก็สอนว่า お+vます(ตัดます)+になりますจะเป็น 丁寧語 ส่วน お+vます(ตัดます)+します จะเป็น 謙譲語 ส่วนคำเฉพาะต่างๆ (เช่นพวก  召し上がります) ที่อยู่นอกกฎก็ท่องจำเอา


 ส่วนที่อาจารย์ให้สังเกตว่า ถ้าหากมีตัว ご ข้างหน้าเป็น 丁寧語 หรือคำยกย่องนี้ไม่สามารถให้ 私 เป็นประธานได้ ส่วนหากมีคำว่า 拝 ข้างหน้ามักจะเป็น 謙譲語 

ส่วนตารางที่อาจารย์ให้มาใน รูป 活用形式


     普通系
丁寧
尊敬系
お~になる
お~になります
基本形
~ます
謙譲系
お~する
お~します


 บอกตรงๆ ว่าตารางนี้ทำให้อะไรๆเข้าใจง่ายขึ้นมากกก  ทำให้เห็นมุมมองของกริยา แยกแยะได้ง่ายว่าเรากำลังเคารพใครหรือถ่อมตัวอยู่ แบบฝึกหัดที่อาจารย์ให้โดยนำ活用形式 มาแบ่งทำให้เห็นภาพได้ชัดขึ้นมาก ว่ากำลังแสดงความเคารพต่อใครหรือคุยกับใครอยู่


   ตามในรูปเลย เช่น ประโยคว่า 今回のコメント先生がお書きになるよ。หากตาม 活用形 ก็คือ 尊敬系普通系 คนที่ทำกริยาคืออาจารย์เราจึงใช้กริยายการเขียนให้อยู่ในรูปยกย่อง แต่รูปประโยคในการพูดเป็นรูปธรรมดาเพราะเราคุยอยู่กับเพื่อนจึงไม่ต้องสุภาพ 敬語 ในภาษาญี่ปุ่นจะทำให้เรารู้ว่ากริยาในประโยคที่เราพูดกำลังยกย่องใคร เป็นเรื่องที่เขาใจยากแต่ถ้าเข้าใจแล้วถือว่าเป็นสิ่งที่ 便利 มากเลย


誰が誰に対して敬意を払っているのかが分かる


     อีกเรื่องที่ยากและน่าสับสนของ 敬語 คือเรื่อง ございます (จำชื่อไม่ได้แล้ว)


   เห็นได้จากภาพว่าบางกริยานั้น ทั้งๆท่ี่เป็นกริยาทั่วไปแต่ไม่สามารถนำมาเป็น 丁寧語 หรือ 謙譲語ได้ หรือบางอันทำเป็น丁寧形ได้แต่ ไม่สามารถทำเป็น 普通系 ได้ คือเหมือนทุกครั้งเห็นประโยคหรือตัวอย่างคำแล้วรู้ว่าอะไรใช้ได้ไม่ได้ ถูกไม่ถูกแต่พออาจารย์ถามว่าทำไม ก็ตอบไม่ได้ ฮ่าๆ

   อย่างแรก お知りしています หรือ お歩きする ที่ใช้ไม่ได้ทั้ง丁寧形และ 普通系 เพราะว่ากริยา 知る 歩くนี้ถือเป็นกริยาที่ทำโดยไม่ต้องมีคู่หรือฝ่ายตรงข้ามที่เราจะทำกริยา เพราะ敬語มีไว้เพื่อแสดงความเคารพต่อคนที่เราจะทำกริยยาด้วย เพราะฉะนั้นกริยา รู้และเดินถือเป็นกริยาที่เราทำคนเดียวจึงไม่มีรูป 敬語
    ส่วนกริยาที่มีรูป 丁寧形 แต่ไม่มี 普通系 นั้นทำไมถึงเป็นอย่างนั้น อย่างคำว่าございますตัวอย่างประโยค テレビがございます นี้เอาไว้ใช้เคารพลูกค้าที่มาซื้อโทรทัศน์โดยเราบอกว่า ทางเรามีโทรทัศน์นะ เพราะฉะนั้นหากเราจะพูดกับเพื่อนหรือคนที่ไม่จำเป็นต้องแสดงความเคารพเราก็ไม่ต้องยกย่องจึงไม่ใช่ 普通系 (สารภาพว่ายังแอบงงๆนิดๆ)

  นอกจากนี้ก็จะมีเรื่องของ 二重敬語 เช่น お待ちしています(セーフ)召し上がられます(アウト)คำพวกนี้เกิดขึ้นเนื่องจากว่าคนญี่ปุ่นต้องการให้คำที่ตัวเองพูดมา(ที่สุภาพอยู่แล้ว) มีความสุภาพขึ้นไปอีก ซืึ่งหลายๆคำก่อนหน้านี้ใช้แล้วถือว่าผิดแต่พอคนใช้กันเยอะๆจนเกิดความ 当たり前 จนทำให้ผิดกลายเป็นถูกได้ในจนสุดท้าย... กราบแล้ว


 

ความคิดเห็น

  1. สรุปเรื่องที่อ.เขาบรรยายได้ดีมากเลยค่ะ จุดที่คนมักจะสับสนและการแยกแยะต่างๆ น่าจะเป็นประโยชน์กับทุกคน

    ตอบลบ
  2. พวก ございます ที่ว่าน่าจะเรียก 丁重語 นะ อาจจะนับแยกหรือนับเป็นประเภทย่อยของ 謙譲語 ก็ได้ ถ้าเราเข้าใจไม่ผิด5555555 ชอบเรื่อง 二重敬語 ที่ยกมาอะ เราลืมเขียนถึงประเด็นนี้ไปเลย

    ตอบลบ
  3. เรื่องございますพี่เข้าใจเหมือนแตงโมนะ ว่าเป็น丁重語 เพราะมันต้องแสดงความสุภาพต่ออีกฝ่ายเลยต้องใช้รูป丁寧形เสมอ จะใช้รูป普通形ไม่ได้ ถ้ามีเห็นบ้างก็จะเป็นภาษาโบราณอ่ะ อิมเมจคือพวกหนุ่มซามูไร 555

    ตอบลบ
  4. พวกお知りしています หรือ お歩きするที่ใช้ไม่ได้นี่ก็พึ่งเข้าใจเหตุผลแบบอธิบายได้จากอาจารย์เนี่ยแหล่ะ ก่อนหน้านี้ก็รู็สึกว่าแปลกๆแต่อธิบายไม่ได้ว่าใช้ไม่ได้เพราะอะไร ยากจัง(´;ω;`)

    ตอบลบ
  5. ขอบคุณอาจารย์ที่พูดถึงเรื่อง 二重敬語 มาก จริงๆแบบมีหลายอันที่อาจารย์พูดแล้วเราก็ใช้จนเคยตัว แล้วพอเห็นคนญี่ปุ่นก็ใช้เหมือนกันเลยไม่ได้รู้สึกว่าผิดอะไร แต่พอคิดแล้ววันข้างหน้ามันอาจจะกลายเป็นเรื่องธรรมดา เรื่องที่ถูกต้องกันแล้ว ถึงตอนนั้นเราก็ต้องเรียนรู้กันใหม่

    แต่อยากรู้เลยในอนาคตจะสอนเด็กยังไง ฮ่า แบบเพิ่มข้อยกเว้นงี้หรอ

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

アウトプット仮説&のだ

授業三回目 手際の良い説明&待遇表現の活用