社会文化アプローチ&オチ

 วันนี้มาทบทวนแนวคิดเรื่อง 
sociacultural approach หรือ 社会文化アプローチ  ที่คิดค้นโดย Len Semyonovich Vygotsky ไม่มั่นใจว่าอ่านยังไง แหะๆ

Len Semyonovich Vygotsky  

   ซึ่งแนวคิดนี้จะเสนอว่า การเรียนรู้ของเด็กจะประสบคสวามสำเร็จได้จะต้องมีปฏิสัมพันธ์ ทางสังคมหรือกรทำอะไรร่วมกับ ผู้ใหญ่ที่เป็นคนรอบข้าง เช่น พ่อ แม่ ครู เป็นต้น 
  ในหนังสือที่ Vygotsky ได้เขียนตีพิมพ์อออกมา มีการเสนอถึงแนวคิด social constructivism    ซึ่งเป็นทฤษฎีสร้างความรู้ด้วยตนเองผ่านการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นในสังคม และอีกแนวคิดหนึ่งคือ แนวคิดพื้นที่รอยต่อพัฒนาการ หรือ ZPD (Zone of Proximal Development)
กล่าวคือ เด็กหรือผู้เรียนจะก้าวข้ามพื้นที่รอยต่อพัฒนาการ(ZPD) ไปสู่ระดับพัฒนาการที่สามารถจะเป็นไปได้นั้น จะต้องได้รับความชี้แนะและช่วยเหลือจากคนในสังคมและบงคม ตีความได้ว่า"ฐานการช่วยเหลือ" ที่ช่วยผลักดันให้เด็กหรือผู้เรียนก้าวข้ามไปอีกขั้นหนึ่ง ซึ่งกระบวนการดังกล่าวนี้เรียกว่า scaffolding 


 ตัวอย่างเช่น สังเกตว่าในญี่ปุ่นมี お相撲さんที่เป็นคนต่างชาติมากมาย ทำไมお相撲さんเหล่านั้นถึงได้พูดภาษาญี่ปุ่นเก่ง (ก็จริงนะ บางทีการใช้ภาษา สำเนียงดีว่าคนที่ตั้งใจจะไปเรียนภาษาอีก) น่าจะเป็นเพราะว่าตทั่อนซ้อมกันお相撲さんพวกนี้จะอยู่ด้วยนอนกินด้วยกัน และมี 母หรือคุณแม่หรือคนที่สนิทที่คอยจัดการเรื่องการใช้ชีวิตให้ ซึ่งก็ืทำหน้าที่ช่วยภาษาอย่างจริงๆจังๆ ตลอดเวลา ทำให้จากพูดไม่เป็นเลย ค่อยๆซึมซับและพูดได้ในที่สุด พูดง่ายๆก็คือระบบพี่เลี้ยงยนั้นเอง

 แนวคิดนี้ทำให้เกิดวิธีการเรียนรู้ สองสิธี คือ
  1. situated learning การเรียนรู้ที่เหมาะตามสภาพจริง เน้นปฏิบัติจริง
  2.legitimate peripheral  participation การเรียนรู้ คือกระบวนการเข้าร่วม เช่น อาชีพต่างๆ ช่างตัดผม หมอตำแหย อาชีพเหล่านี้มีสิ่งที่เหมือนกันคือ มือใหม่่จะเรียนรู้จากมืออาชีพ

  ก็คิดว่าเป็นวิธีๆนึงที่ได้ประสิทภาพ เนื่องจากในระหว่างที่ผู้เรียนกำลังฝึกฝนก็คอยมีคนมาsupport ให้ ทำให้เรียนรู้ถูกผิด และคอยพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ เรียนรู้เหมือนคล้ายเรียนรู้พวกกีฬาหรืองานฝีมือเลย ในความรู้สึก 


どうやってオチを面白くする?

 จากการที่ได้ลองแต่งและเขียนเรื่องที่อาจารย์ให้หัวข้อมา ซึ่งเป็นหัวข้อ おばけ ก็รู้สึกว่าการแต่งเรื่องให้สนุกน่าอ่านเป็นเรื่องที่ยากมากพอสมควร คือปกติแล้วเราไม่ได้เป็นคนี่มีความคิดสร้างสรรค์เลย ทำให้รู้สึกพอเขียนออกมามันก็ดูเป็นแนวเดิมๆ  ทั่วๆไปที่ใครๆก็คิดออก แต่การที่เขียนพวกนี้เนี่ยก็ไม่ใช่แค่ไอเดียดีแล้วชนะด้วย เพราะเราต้องคำนึงว่าเขียนยังไงให้สนุก ต้องใช้คำเล่นคำยังไง ทำยังไงให้คนอ่านได้เห็นภาพไปกับเราและสามารถตื่นเต้นไปกับมัน 

     ปกติแล้วเป็นคนที่ชอบอ่านนิยายแนว ライトノベルตามเน็ต (เพราะมันฟรี อยากอ่านตอนไหนก็อ่าน ติดเป็นกิจวัตรมาตั้งแต่ตอนมอต้นแล้ว) แต่อ่านพวกนี้มันก็มีข้อเสีย หรือจุดที่เป็นข้อบกพร่องอย่างหนึ่ง(ที่จริงก็แอบมีเยอะพอสมควร) คือนิยายที่อยู่ในเว็บเป็นนิยายที่ใครมาเขียนมาแต่งก็ได้ ทำให้เจอเรื่องที่อ่ายแล้วว้าว ได้ยาก บางเรื่อง(หลายๆเรื่อง)ดูมีพร็อตที่ดีน่าสนใจมากๆ อ่านเรื่องย่อแล้วตัดสินใจแล้วลองกดเข้าไปอ่านดู แต่ปรากฏว่าเรื่องไม่สนุกอย่างที่คิด ไม่ใช่เนื้อเรื่องที่ไม่สนุก แต่การเขียนที่ค่อนข้างจะน่าเบื่อและเนื้อเรื่องไม่เข้ามาในหัว มันทำให้ไม่ค่อยน่าสนใจ ส่วนใหญ่ที่เห็นที่อ่านแล้วมึนๆก็คือ เรื่องที่มีแต่บทพูด (เข้าใจนะ เว็บที่อ่านตอนนั้นเด่นแนวความรักใสๆ ทำให้มีนักเขียนที่อายุน้อยเยอะ บางเรื่องอ่านแล้วรู้เลยว่า น่าจะ 小学生 เป็นคนเขียน) แต่กลับกันบางเรื่องพร็อตดูเฉยๆ มากไม่ได้มีอะไรที่เด่นขนาดนั้น แต่พอได้อ่านแล้วรู้สึกสนุกรู้สึกมันลึกซึ้ง ทำให้เราจมเข้าอยู่ในเรื่องของเขา พออ่านพวกนี้มานานๆ จะพอดูออกว่าคนนี้เขียนดี ไม่ดี (แต่บางคนเขียนดี  แต่พร็อตแย่จนไม่สนุกก็มีนะ มีหลายแบบ ฮ่าๆ) ก็จะลองอ่านบทนึงแล้วค่อยตัดสินใจว่าอ่านต่อมั้ย แต่แล้วทั้งนี้ทั้งนั้น ไม่เกี่ยวว่าเราเขียนได้ดีไหม เพราะเขียนให้สนุกไม่เป็นถึงได้เป็นแค่นักอ่านตลอดเกือบสิบปี อีกข้อดีนึงของเว็บพวกนี้คือ ถ้าเขียนดีจริงๆ ติดแรงค์ตลอกสำนักพิมพ์เขาจะตีพิมพ์หนังสือที่เราเขียนเป็นหนังสือ ถือว่าเป็นทางลัดวิธีหนึ่งที่จะได้เป็นนักเขียนเลยทีเดียว



 ตัวอย่างเว็บโปรด ส่วนใหญ่ตอนนี้จะชอบอ่าน 小説を読もう ที่สุดแล้ว แต่เรียกได้ว่าโตมากับพวกนี้
    
    อย่างที่อาจารย์ได้ให้ลองอ่านของเพื่อนๆ และสรุปให้ว่าควรจะเขียน オチ ยังไงให้สนุกน่าอ่านน่าตามก็คือ จบสวยดีทั้งเรื่อง  แต่กันขึ้นต้นเรื่องก็เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้คนสนใจและอยากอ่านต่อ นอกจากนี้การใช้คำก็ควรจะมีทั้ง 副詞 擬声語 擬態語 複合動詞 ให้น่าอ่านมากขึ้น หลักการพวกนี้สำคัญมากในการแต่งและเขียนเรื่อง 

      オチの作り方は 何かが進行しており、順当に進めばこうなるということまで予想させるように表現するのです。そして、その予想される結末とは違う結末を設定すれば、オチを作ることができます。


ความคิดเห็น

  1. オチเรื่องที่หนูแต่ง ครูชอบมากกกเลย ตอนจบถึงจะรู้ว่าคน(สิ่ง)ที่ถูกทิ้งคือใคร...ประทับใจค่ะ แต่งเก่งมากเลย

    ตอบลบ
  2. เว็บที่หนูเข้าไปอ่าน น่าสนดีนะ พอสอบเสร็จเดี๋ยวลองเข้าไปอ่านบ้างนะ ^^ แล้วก็เห็นด้วยเรื่องพวก複合動詞 オノマトペช่วยเรื่องแต่งนิยายได้เยอะมาก ๆ จริงนะ เรื่องที่หนูแต่งแต่ละเรื่องคืออ่านแล้วเห็นภาพมากแบบจริงจัง

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

授業三回目 手際の良い説明&待遇表現の活用

アウトプット仮説&のだ

統合&あいづち