ヨーのための応用言語学

授業一回目 応用言語学と魅力的な自己紹介
       ครั้งแรกที่เข้าไปเรียน ก็ได้คำถามจากอาจารย์ว่า  
"ทำไมนิสิตถึงคิดที่จะมาเรียนวิชานี้" 
    บอกตรงๆว่าตอนแรกที่เลือกจะเรียนวิชานี้ เพราะว่าต้องการเก็บวิชาเลือกเอก และเพิ่่งนกจากวิชาการแปลมา อีกทั้งเพื่อนๆที่เรียนวิชานี้อยู่แล้วบอกว่าน่าเรียน อาจารย์น่ารักเลยมาลองเรียนดู... ตั้งแต่เข้ามาในเอกมาสองปีนี้เป็นครั้งแรกที่เรียนกับอาจารย์กนกวรรรณ อาจารย์น่ารักม๊ากกกกกก ดูใจดีเป็นที่สุด
  พอมาเริ่มเข้าวิชา เราก็เริ่มด้วยการมารู้จักกับคำว่า 応用言語学 หรือวิชาภาษาศาสตร์ประยุกต์ว่าศาสตร์นี้จะต่างจากภาษาศาสตร์ที่เราเคยเรียนกันมายังไง





                            
   応用言語学 เป็นศาสตร์ที่สามารถตอบโจทย์มนุษย์ที่มีปัญหาทางภาษาเป็นหลักได้ และยังเชื่อมโยงระหว่าง"ภาษา"กับ"มนุษย์ในสังคม"ได้ ซึ่งหลักๆที่เราเข้าใจก็คือเป็นภาษาศาสตร์ที่ไม่ได้เรียนแค่ตัวทฤษฎีของภาษา แต่พอเราเรียนไปแล้วสามารถนำมาประยุกต์ใช้ต่อได้ และส่วนตัวชอบคำว่าประยุกต์ไปใช้ต่อได้มากๆ เพราะว่าเท่าที่เคยเรียนภาษาศาสตร์มาก่อนหน้านี้รู้สึกไม่ค่อยถนัด เพราะเป็นคนเข้าใจอะไรยากและไม่ค่อยวิชาการอยู่แล้ว บวกกับตั้งใจอยากจะเก็บวิชาที่เป็นทักษะมากกว่าวิชาการ พอเห็นอาจารย์อธิบายและดูsylibus ของวิชาเลยรู้สึกสนใจและตัดสินใจที่จะลงเรียนต่อ หวังว่าจะได้ความรู้บวกกับทักษะต่างๆในการไปใช้งานในอนาคต
    

      อีกเรื่องคือเรื่องของ corpus linguistics หรือภาษาศาสตร์คลังข้อมูล ว่าเทคโนโลยียังมีขีดจำกัดในก่ารแปล เพราะยังแปลได้แค่ตัวคำศัพท์แต่ ถ้าให้จีบสาวก็ยังไม่สามารถบอกวิธีกับเราได้ ฟังแบบนี้แล้วค่อยชื่นใจหน่อย ถือว่ายังไม่โดน AI แย่งงานไปหมด ฮ่าๆ
                         
 今週のメインディッシュ”魅力的な自己紹介”
เข้าใจมาตลอดว่าการแนะนำตัว สิ่งที่สำคัญคือการที่ทำให้คนอื่นหรืออีกฝ่ายรู้จักตัวเรา และสามารถจำเราได้ แต่คนญี่ปุ่นส่วนใหญ่จะเอาtopic มาเป็นหลักแต่ไม่ได้เอาตัวเองเป็นประเด็น คิดเรื่องความเป็น集団 ฟังแล้วนึกถึง 周りに溶け込むこと มีความกลมกลื่นสไตล์คนญี่ปุ่นดี (อันนี้น่าจะตอนแนะนำตัวเป็นกลุ่ม) ส่วนการแนะนำเดียว สิ่งที่เราควรคำนึงเป็นหลักก็คือ

                              ・相手へのメリット
                              ・失敗談
           ・自分の特徴
  
     การที่โปรโมทขายตัวเองให้น่าสนใจและให้อีกฝ่ายจำได้เป็นเรื่องสำคัญ แต่หลายๆตัวอย่างการแนะนำตัวที่อาจารย์ให้อ่าน มีข้อบกพร่องหลายอย่าง แต่สิ่งที่อ่านแล้วคิดว่าไม่โอเคที่สุดคือเขียนให้ตัวเองดูดีแต่ทำให้อีกฝ่ายหมั่นไส้ มันอาจจะเป็นการเขียนแบบfact ไม่ได้คิดตั้งใจจะโออ้วด แต่ด้วยการใช้คำ สำนวน และความตรงไปตรงมาทำให้อาจมี印象ที่ไม่ค่อยดีเท่าไร ตามที่อาจารย์แนะนำเราควรจะเปลี่ยนคำในการสื่อ เช่น แทนที่จะบอกว่า ~が得意です ~ができます ก็เปลี่ยนเป็นใช้คำว่า ~が好きです ~を頑張りました จะมี印象ที่ดีกว่า 
  

     เทคนิคการแนะนำตัวพวกนี้รู้สึกเป็นประโยชน์ต่อตัวเรามาก เพราะส่วนตัวตอนจะตอนสัมภาษณ์งานหรือ กิจกรรมต่างๆ ก็ไม่รู้ว่าควรจะพูดอะไรออกไปบ้าง ทำให้มีหลายครั้งที่รู้สึกทำไม่ดี หรือตกสัมภาษณ์ก็เคยมาแล้ว

                       


    เคยมีโอกาสได้ไปสัมภาษณ์ เพื่อที่จะได้ไปสัมภาษณ์งานที่สิงคโปร์ต่อ(แต่ตอนนั้นไม่ผ่าน เพราะว่าจบการศึกษาไม่ทันที่เขากำหนด)ซึ่งมีแต่บริษัทนำของญี่ปุ่น ก่อนจะสอบสัมภาษณ์ตืนเต้นมากเลยลองไปอ่าน 面接の自己紹介 และ 印象に残る自己PR(แอบขี้โกงใช้ได้) ซึ่งสองอันนี้ดูเหมือนจะคล้ายกันแต่เป็นคนละอย่างกัน เพราะ自己紹介 เราแค่พูดให้อีกฝ่ายรู้จักเรา (ซึ่งสำคัญมากก) แต่自己PR ต้องขายตัวเอง ต้องบอกจุดเด่นจุดขายของเรา และสิ่งที่ตัวเองมุ่งหวังจะทำอะไร อยากทำงานเกี่ยวกับอะไร ของบริษัทไหน ทำไม(ตอนนั้นฟังเขาสัมภาษณ์พี่ๆก่อน เลยรีบแอบเปิดโทรศัพท์มาค้น) แล้วเราก็เจอเว็บหนึ่งบอกว่า เราไม่จำเป็นอยากทำในสิ่งที่ตัวเองถนัดหรือเรียนมา ตอนสัมภาษณ์เลยตอบไปว่า

 "私は日本語を専攻しているので、もちろん日本語と関係する仕事がしたいです。だけど、日本語と直結する仕事だけじゃなくて、自分の分野外である新しいこと・・・例えば、医薬品だったり、電気製品だったり、全然知識はないんですけど日本語を通して、そういった新しい分野にも挑戦してみたいなと思っています。''
             





 แล้วที่ตอบไปก็ยังไม่แน่ใจว่ามันดีหรือไม่ดีพลาดตรงไหน เพราะคนที่สัมภาษณ์ก็ถามชวนคุยเรื่อยๆ เลยอยากให้อาจารย์สอนลงลึกทักษะด้านนี้เยอะๆ เพราะรู้สึกว่าอีกสองปี ตอนสัมภาษณ์งานนี้เจอแน่ๆ แต่ถือว่าการสัมภาษณ์ครั้งนั้นก็เป็นประสบการณ์ที่ดี เหมือนจำลองสนามนิดๆ ก็อยากจะเป็นทั้ง 魅力的な自己紹介 และ  魅力的な自己PR เย้ๆ

ความคิดเห็น

  1. ครูว่าหนูตอบได้ดีนะ(ตอนสัมภาษณ์ที่สิงคโปร์น่ะ) ยอดเยี่ยมเลย (อาจจะทำให้เป็นภาษา formal อีกนิดยิ่งดี) โดยเฉพาะตรงที่บอกว่าอยากจะลองทำงานด้านอื่นมาด้วย ครูว่าดีนะคะ อันหนึ่งคือก่อนไปสอบสัมภาษณ์งานนั้นๆ เราอาจจะต้อง research บริษัทที่เราจะเข้ารับการสัมภาษณ์ให้ดีว่ามีโครงสร้างองค์กรอะไร ประธานเป็นใคร มีวิสัยทัศน์ยังไง เขาน่าจะอยากได้คนแบบไหน ฯลฯ คือรู้เขารู้เราก่อนจะไปเข้าพบเขาก่อน นอกจากนี้ครูสังเกตว่าคนที่จะเขียนหรือพูด 自己アピールได้ดีคือไม่ใช่เพราะเรื่องภาษาอย่างเดียว คนนั้นจะมี "เรื่อง" ที่จะพูด "เรื่อง"ที่ว่านี่ก็คือ "ประสบการณ์" หรือ ネタ ที่จะพูด เช่น เคยไปฝึกงานที่ไหน หรือมีความคิดเกี่ยวกับวัฒนธรรมที่ต่างกันจากประสบการณ์การไป homestay โน่นนั่นนี่ ทำให้เราเกิดความรู้สึกว่า... ทำให้เราอยากทำ.... ทำให้เราอยากเปลี่ยนตัวเราหรือสังคม และเอาสิ่งนี้มาร้อยเรียงเป็นข้อความ 自己アピール ของเรา ดังนั้นจึงอยากแนะนำให้นิสิตไปฝึกงาน ทำงานพิเศษ เข้าค่ายหรือทำอะไรมากๆหลายๆอย่างในช่วงที่เป็นนิสิต เพื่อจะได้มีประสบการณ์ จะได้นำมาเป็น ネタในการเขียนหรือพูดได้ค่ะ

    ตอบลบ
  2. เราว่าโยตอบดีอะ ทักษะที่เราเรียนในเอกมันไม่ใช่วิชาชีพโดยตรงโนะ แต่ถ้าเรา PR ตัวเองว่าเราพร้อมเปิดโลกเรียนรู้สิ่งใหม่โดยผ่านภาษาที่เรารู้ได้ เราว่ามันจะเป็นจุดขายที่ดีมาก ๆ เลยอะ ถ้าเราแสดงให้เขาได้เห็นว่าเรากระตือรือร้นจะเรียนรู้น่าจะเป็นประโยชน์ได้เยอะ

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

授業三回目 手際の良い説明&待遇表現の活用

アウトプット仮説&のだ

統合&あいづち